TOYOTA SUPRA

        TOYOTA SUPRA         

          หลายๆคนคงรู้จักกันดีกับรถยนต์ทรงสปอร์ต ที่โด่งดังอย่างมากในหนังเรื่องเดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส อย่างเจ้า TOYOTA SUPRA คันสีส้มที่ถือว่าเป็นคันแรกของนักแสดงหนุ่ม “พอล วอล์คเกอร์” ในบทบาทของตำรวจนักสืบหนุ่ม “โอคอนเนอร์” พวกเราทีมงาน Autotirechecking(ATC) เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ย้อนอดีตดูสายพันธ์ของเจ้า TOYOTA SUPRA กันว่าจะมีพัฒนาการเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากการกลับมาเปิดตัวเวอร์ชั่นสุดโหดต่างๆ ในปี 2019

        TOYOTA CELICA SUPRA (A40-A50) 1978-1981

        TOYOTA SUPRA เปิดตัวคันแรกของสายพันธ์ด้วยชื่อ TOYOTA CELICA ในประเทศญี่ปุ่นเองก็เรียกกันว่า TOYOTA CELICA XX และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปี 1979 กับการออกแบบรูปแบบ 2 ประตู Coupe TOYOTA CELICA XX ออกผลิตครั้งแรกที่โรงงาน Tahara plant ในญี่ปุ่น โดยการเกิดมาของ TOYOTA CELICA XX นั้นเรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งของตละกูล Z ของ NISSAN เลยก็ว่าได้

เครื่องยนต์ที่เคยอยู่บน TOYOTA CELICA SUPRA (A40-A50) 1978-1981

เครื่องยนต์ M-EU I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 1,988 cc (2.0 L; 121.3 cu in) : 92 kW (123 hp; 125 PS)
เครื่องยนต์ 4M-E I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 2,563 cc (2.6 L; 156.4 cu in) : 82 kW (110 hp; 111 PS)
เครื่องยนต์ 5M-E I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 2,759 cc (2.8 L; 168.4 cu in) : 87 kW (117 hp; 118 PS)

ส่วนระบบเกียร์นั้นมีทั้งระบบเกียร์ธรรมดา และอัตโนมัติในสมัยนั้นเป็น เกียร์ธรรมดา 5-speed W50 และ เกียร์อัตโนมัติ   4-speed A40D ส่วนในรุ่นสุดท้ายของ TOYOTA CELICA SUPRA (A40-A50) 1978-1981 กับเครื่องยนต์ 5M-E I6 จะจับคู่กับเกียร์ เกียร์ธรรมดา 5-speed W50 และ เกียร์อัตโนมัติที่คำนวนใหม่ 
4-speed A43D แทน

TOYOTA CELICA SUPRA (A60) 1982-1985

        สำหรับรุ่นที่สองของ TOYOTA SUPRA ก็ยังคงเป็นชื่อของ TOYOTA CELICA SUPRA แต่ครั้งเป็นการพลิกโฉมของ TOYOTA CELICA SUPRA ด้วยการรออกแบบใหม่ให้ไฟหน้าของ TOYOTA CELICA SUPRA เป็นรูปแบบไฟ pop-up แทน สำหรับรุ่นนี้ถือว่าเป็นรุ่นที่โด่งดังมากในระดับโลกโดยเฉพาะในยุโรปด้วยอัตราเร่ง 0-96 km/h ภายใน 8.7 วินาท เท่านั้น ด้วยเครื่องยนต์ 6 สูบเรียง 12 วาล์ว 168 แรงม้า ในช่วงปลายของโมเดลยังมีการร่วมมือกับ LOTUS ในการจูนการควบคุม พร้อมการใส่การแสดงผลแบบดิจิตอล

เครื่องยนต์ที่เคยอยู่บน TOYOTA CELICA SUPRA (A60) 1982-1985

เครื่องยนต์ 1G-EU I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 1,988 cc (2.0 L; 121.3 cu in) : 93 kW (125 hp; 126 PS)
เครื่องยนต์ M-TEU turbocharged I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 1,988 cc (2.0 L; 121.3 cu in) : 108–119 kW (145–160 hp; 147–162 PS)
เครื่องยนต์ 5M-E I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 2,759 cc (2.8 L; 168.4 cu in) : 104 kW (139 hp; 141 PS)
เครื่องยนต์ 5M-GE I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 2,759 cc (2.8 L; 168.4 cu in) : 108–133 kW (145–178 hp; 147–181 PS)

TOYOTA SUPRA (A70) 1986-1993

        เป็นรุ่นแรกของ TOYOTA SUPRA ที่ใช้ชื่อว่า SUPRA เพลียวๆ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของ TOYOTA CELICA นั้นแปลี่ยนไปเป็นขับเคลื่อนล้อหน้าแทน เพื่อรักษาความเป็นขับหลัง TOYOTA จึงแบ่งรุ่นออกมาเป็น TOYOTA SUPRA และยังเป็นรุ่นแรกของ TOYOTA SUPRA ที่ได้พัฒนากับการใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์ในปี 1987 แต่ในเครื่องยนต์ 6 สูบ TOYOTA SUPRA (A70) เองในรุ่น NA ที่ไม่มีเทอร์โบ ยังสามารถดันแรงม้าได้ถึง 2,000 แรงม้าเลยทีเดียว ส่วนอัตราแรงนั้นวิ่ง 0-96 km/h ภายใน 7.9 วินาที

        หลังจากนั้นหนึ่งปีโลกก็ได้รู้จัก TOYOTA SUPRA TURBO ที่สามารถดึงกำลังแรงม้าได้มากถึง 230 แรงม้า อัตราแรง 0-96 km/h ภายใน 6.1 วินาที โดยต่อยอดจากเครื่องยนต์ 6 สูบ 3.0 ลิตร ของ TOYOTA SUPRA (A70) นั้นเอง การพัฒนาของ TOYOTA SUPRA (A70) กับเครื่องยนต์เทอร์โบนั้นยังเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการพัฒนาเครื่องยนต์ตำนานของ TOYOTA อย่าง 2JZ อีกด้วยกับเครื่องยนต์พิเศษจาก TOYOTA SUPRA รุ่น TURBO A และ TWIN TURBO R

เครื่องยนต์ที่เคยอยู่บน TOYOTA SUPRA (A70) 1986-1993

เครื่องยนต์ 1G-EU I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 1,988 cc (2.0 L; 121.3 cu in) : 93 kW (125 hp; 126 PS)
เครื่องยนต์ 1G-GEU I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 1,988 cc (2.0 L; 121.3 cu in) : 119 kW (160 hp; 162 PS)
เครื่องยนต์ M-TEU turbocharged I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 1,988 cc (2.0 L; 121.3 cu in) : 108–119 kW (145–160 hp; 147–162 PS)
เครื่องยนต์ 5M-E I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 2,759 cc (2.8 L; 168.4 cu in) : 104 kW (139 hp; 141 PS)
เครื่องยนต์ 5M-GE I6 เครื่องยนต์ 6 สูบ วางเรียง 2,759 cc (2.8 L; 168.4 cu in) : 108–133 kW (145–178 hp; 147–181 PS)

TOYOTA Supra (A80) 1993-2002

        TOYOTA Supra (A80) เกิดเริ่มต้นโปรเจคในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ในปี 1989 เริ่มขายแบบแพร่หลายในปี 1993 โดยการออกแบบบางจุดได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถยนต์สปอร์ตคันแรกของ TOYOTA อย่าง TOYOTA 2000GT และที่โดดเด่นที่สุดของ TOYOTA Supra (A80) คือการเปิดตัวเครื่องยนต์ตัวแรงในตำนานของ TOYOTA อย่าง 2JZ-GE เครื่องยนต์ NA ที่ไม่พึ่งเทอร์โบก็สร้างแรงม้าได้ถึง 164 kW (220 hp; 223 PS) ที่ 5,800 รอบต่อนาที กับแรงบิดสูงสุด 210 lb⋅ft (285 N⋅m) ที่ 4,800 รอบต่อนาที และเครื่องยนต์จอมพลังกับเครื่องยนต์ 2JZ-GTE มาพร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบคู่ 206 kW (276 hp; 280 PS) กับแรงบิดสูงสุด 318 lb⋅ft (431 N⋅m) 
        นอกจากนั้นยังมีการปรับแต่งเครื่องยนต์ 2JZ-GTE ในเวอร์ชั่นการขายในอเมริการ และยุโรปให้มีความแรงมากขึ้นด้วยการเพิ่มเติม ระบบหัวฉีดให้จ่ายน้ำมันได้เยอะขึ้น การปรับแต่งเทอร์โบ และอื่นๆ ที่ทำให้ แรงม้าเพิ่มขึ้นไปถึง 239 kW (321 hp; 325 PS) และแรงบิดสูงสุด 315 lb⋅ft (427 N⋅m) แต่หลังจากรุ่นสุดท้ายของ TOYOTA Supra (A80) ชื่อของ TOYOTA Supra ก็กลายเป็นตำนานที่หายสาบสูญด้วยการยกเลิกการผลิตไป


TOYOTA Supra (A90) 2019

หลังจากนั้น 17 ปี การกลับมาของ TOYOTA Supra (A90) 2019 ก็ได้ทำให้สาวกความแรงของ TOYOTA Supra กลับมาจับตามองอีกครับกับการออกแบบที่ทันสมัยแต่ยังคงกลิ่นอายความเป็น TOYOTA Supra ในรุ่น TOYOTA Supra (A90) 2019 อีกครั้ง TOYOTA Supra (A90) 2019 เปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ 2019 North American International Auto Show โดยเป็นการเปิดให้ยลโฉมก่อนจะเป็นโมลเดลขายจริงในปี 2020 ด้วยการออกแบบพื้นฐานจาก BMW Z4 ไม่ใช้แค่โครงสร้างแต่เทคโนโลยีต่างๆ ของ TOYOTA Supra (A90) 2019 ก็มีการดึงมาจาก BMW ในหลายจุด

สเปคของ TOYOTA Supra (A90) 2019

เครื่องยนต์ BMW B48B20 turbocharged I4 แถวเรียง 4 สูบ ความจุ 1,998 cc (1.998 L; 121.9 cu in)

กำลังแรงม้าสูงสุด 145–190 kW (194–255 hp; 197–258 PS) ที่ 4,500-6,500 รอบต่อนาที หรือ 5,000-6,500 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด 320–400 N⋅m (236–295 lbf⋅ft) ที่ 1,450-4,200 รอบต่อนาที หรือ 1,550-4,400 รอบต่อนาที
จับคู่ระบบเกียร์อัตโนมัติ 8-speed ZF 8HP
อัตราเร่ง 0-97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง = 4.3 วินาที
เครื่องยนต์ BMW BMW B58B30 turbocharged I6 แถวเรียง 6 สูบ ความจุ 2,998 cc (2.998 L; 182.9 cu in)

กำลังแรงม้าสูงสุด 250 kW (335 hp; 340 PS) ที่ 5,000-6,500 รอบต่อนาที
แรงบิดสูงสุด 500 N⋅m (369 lbf⋅ft) ที่ 1,600-4,500 รอบต่อนาที
จับคู่ระบบเกียร์อัตโนมัติ 8-speed ZF 8HP
อัตราเร่ง 0-97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง = 5.2-6.5 วินาที
นอกจากจะเปิดตัว และพร้อมลงตลาดแล้ว TOYOTA Supra (A90) 2019 ยังออกเวอร์ชั่นต่างๆ มาให้เราได้เห็นกันมากมาย พร้อมการพัฒนา TOYOTA Supra (A90) 2019 ให้เข้าไปสู่การแข่งขันในสนามได้อย่างเต็มตัว

TOYOTA Supra Super GT concept


TOYOTA Supra GT4 concept

NASCAR Supra



TOYOTA Supra TRD



TOYOTA Supra (A90) Goodwood 2019 Festival of Speed

        TOYOTA Supra (A90) 2019 ล่าสุดกับเวอร์ชั่นที่พร้อมลง Goodwood 2019 Festival of Speed กับการปรับแต่งเครื่องยนต์ 2JZ แรงม้าสูงสุดถึง 690 แรงม้า

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น